Smart Farmer ดีเด่นระดับอำเภอ/จังหวัด
เกษตรกรปราดเปรื่อง
ระดับอำเภอปราณบุรี / ระดับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
“เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อ อำเภอปราณบุรี”
ชื่อเกษตรกร นายวรกิตต์ พันธ์ลิมา อายุ 26 ปี
ที่อยู่ 536 หมู่ 1 ตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี โทรศัพท์ 08-4884-4569
พิกัด GPS 12.367154 , 99.908779
- เกิดวันที่2 เมษายน 2537 อายุ26 ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย
- ที่อยู่บ้านเลขที่ 536หมูที่1ตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
รหัสไปรษณีย์ 77120
- โทรศัพท์ 032-540613 , 08-4884-4569
- Facebook วรศิลป์ฟาร์ม ปราณบุรี - WorasinFarm Pranburi
- การศึกษาสูงสุดปริญญาตรี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี สาขา โคนม-โคเนื้อ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
- สถานภาพสมรส
- อาชีพหลัก(อาชีพที่ทำรายได้มากที่สุด)การเลี้ยงโคเนื้อขุน
- ชนิดและจำนวนปศุสัตว์ที่เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 600 ตัว
- พื้นที่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรของตนเองจำนวน 30 ไร่
กิจกรรมภายในฟาร์มอื่นๆ ประกอบด้วย
1. การผลิตโคเนื้อขุน เกรดพรีเมียม
2. การแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อโคขุน เกรดพรีเมียม
3. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการฟาร์มโคเนื้อ
4. เป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้ผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อ
5. เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษา
แรงจูงใจในการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้
เดิมเป็นเกษตรกรทั่วไปตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงสุกร และเปิดร้านจำหน่ายเนื้อไก่และสุกร ต่อมาเกิดโรคระบาดทำให้ต้องเลิกเลี้ยง พอมารุ่นพ่อแม่ ซึ่งมีความชอบด้านการเกษตร และจบการศึกษาด้านการเลี้ยงสัตว์ จึงหาสัตว์เศรษฐกิจมาเลี้ยง โดยเริ่มจากการเลี้ยงโคพื้นเมือง ซึ่งมีความทนทานไม่มีโรคระบาด ทำให้มีแรงบันดาลใจที่จะเลี้ยงต่อจึงหาโคและกระบือมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น ต่อมาเริ่มศึกษามากขึ้นประกอบกับโคขุนมีปัญหาด้านการตลาด จึงต้องหาตลาดเนื้อโคและในช่วงเวลาหนึ่งมีตลาดพรีเมี่ยมเข้ามา เลยเป็นตลาดที่น่าทดลองเพราะเป็นตลาดกึ่งไทยกึ่งต่างประเทศ โดยเริ่มเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา จึงมีความชอบและศึกษาจนจบปริญญาตรีในสายอาชีพสัตวบาล และได้กลับมาพัฒนาต่อจากพ่อ โดยเป็นสัตวบาลประจำฟาร์มด้วย
วิธีการเลี้ยงสัตว์/การดูแลรักษา/การแปรรูปผลผลิต
๑) ความรู้เฉพาะสาขา การศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาโคนม-โคเนื้อ (มีความสามารถเลี้ยงโคเนื้อและพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อ และยังถ่ายทอดความรู้ไปยังเกษตรกรที่สนใจนำไปประกอบอาชีพได้
เทคนิคเฉพาะ การเลี้ยงโคเนื้อตลาดพรีเมี่ยม เพื่อเพิ่มช่องทางอีก๑ช่องทาง ในการซื้อของของผู้บริโภค เป็นโคเนื้อที่แตกต่างจากตลาดทั่วไป โดยใช้ประสบการณ์การเลี้ยงการขุนที่ใส่ใจ โดยใช้สายพันธุ์ ลักษณะรูปร่าง และระยะเวลาการขุน มาเป็นตัวกำหนดในการขายสู่ตลาดพรีเมี่ยม โคที่ใช้ในการขุนส่วนใหญ่จะเป็นลูกเกิดภายในฟาร์มที่ได้ผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาเอง และการพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อจากโคไทยพื้นเมือง เป็นโคสายเลือดยุโรปได้ ทั้งนี้ยังเป็นเจ้าหน้าที่อาสาผสมเทียมของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอปราณบุรี จึงมีความพร้อมในการพัฒนาตนเอง และพร้อมที่จะเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรได้เข้ามาศึกษาต่อไป
2.) การจัดการปัจจัยการผลิต
- เทคนิคเฉพาะ
- ด้านพันธุ์สัตว์
- ในฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 600 ตัว
-การคัดเลือกสายพันธุ์โคตลาดพรีเมี่ยม ภายในฟาร์มจะเลือกน้ำเชื้อพ่อพันธุ์สายเลือดยุโรป หรือโคเมืองหนาว เช่นสายพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ สายพันธุ์แองกัส สายพันธุ์แบรงกัส จากกลุ่มที่นำเข้าน้ำเชื้อเข้ามาในประเทศไทย ทางฟาร์มได้ไปซื้อน้ำเชื้อต่อมาเพื่อมาผสมกับแม่พันธุ์ลูกผสมในฟาร์มที่มีอยู่แล้วเมื่อลูกโคเกิดใหม่จะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในเมืองไทยได้ มีอัตราการเจริญเติบโตสูง โตเร็วกว่าโคลูกผสมในประเทศไทย ประสิทธิภาพในการใช้อาหารสูง และส่งโรงฆ่าสัตว์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้มีเนื้อที่นุ่ม ไขมันแทรกดี
-การผลิตที่เกิดภายในฟาร์ม มีข้อดีคือรู้ประวัติพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ สายทางในการพัฒนาต่อ โดยโคเพศผู้ที่เกิดมาจะนำไปเข้าขุน ส่วนตัวเมียจะนำมาทำเป็นแม่พันธุ์ปรับปรุงพันธุ์ต่อในรุ่นถัดไป โดยสายพันธุ์ที่เลือกใช้มีข้อดี คือ อัตราการแลกเนื้อที่ดี ไขมันแทรกที่ดี เราอ้างอิงงานงานวิจัยจากต่างประเทศที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพโคเนื้อ ที่นำมาสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนเนื้อขายทอดสู่ตลาด ทางฟาร์มได้ทดลองนำมาผสมพันธุ์จากแม่พันธุ์ภายในฟาร์มจนเกิดลูก แล้วนำลูกมาเข้าขุนและจำหน่ายออกไป เมื่อทางสหกรณ์ซื้อไป และนำไปแปรรูป คุณภาพเนื้อที่ออกมามีความน่าทาน ลักษณะต่างจากโคพื้นเมืองหรือลูกผสมทั่วไปอย่างชัดเจน ได้เนื้อคุณภาพดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในตลาดโคเนื้อเกรดพรีเมี่ยม
-ด้านอาหารสัตว์
-การให้อาหารสัตว์ อาหารที่ใช้ขุนโคมีทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น โดยอาหารหยาบจะเป็นของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เปลือกข้าวโพด เปลือกสับปะรด ฟางข้าว ฯลฯ อาหารข้น เป็นอาหารที่ผลิตสูตรโคพรีเมี่ยมโดยเฉพาะจากบริษัทอาหารโค โดยอาหารทั้ง๒ ชนิดเป็นอาหารหลักของโคที่ต้องได้รับทุกวัน
๓) การผลิต/การเลี้ยง
-เทคนิคเฉพาะ
การจัดการด้านการเลี้ยง
-โคในฟาร์มจะอยู่ในโรงเรือนรวม ประมาณ ๔o ตัว ต่อ ๑ คอก โคเนื้อ เลี้ยงโดยการใส่อาหารข้น ละอาหารหยาบ ลงในรางอาหาร ให้กินตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยให้กินอาหารข้น เปลือกสับปะรด เปลือกข้าวโพด ส่วนแม่โค จะกินอาหารข้นสูตรแม่โค แร่ธาตุเสริม และฟางข้าว โคทุกตัวจะต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอ และได้รับวัตถุดิบจากเกษตรกรอย่างดีทั้งหมด
4. การแปรรูปและการเพิ่มมูลค่า
เทคนิคเฉพาะ
การเพิ่มมูลค่าในฟาร์มจะเน้นการผลิต และพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อ จากน้ำเชื้อพ่อพันธุ์นำเข้าเลือด๑00 จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสายเลือดที่นิ่ง นำเข้ามาผสมเทียมกับแม่โคภายในฟาร์มเพื่อปรับปรุงพันธุ์ จากโคลูกผสมไทยพื้นเมือง ลูกผสมบราห์มัน ลูกผสมชาร์โรเล่ส์ ยิ่งโคมีเลือดสูงขึ้น จะทำให้ลูกหลานออกมาใกล้เคียงพ่อพันธุ์มากที่สุด เมื่อนำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาผสมกับโคพื้นเมืองบ้านเรา ไม่ต้องกลัวมีปัญหาเรื่องสภาพอากาศกับตัววัวอีกด้วย เพราะลูกโคจะปรับเปลี่ยนตามธรรมชาติจากแม่พันธุ์ที่ได้รับการผสมเอง
การแปรรูปผลิตภัณฑ์
- การแปรรูปการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้โคเนื้อเกรดพรีเมียม เป็นที่รู้จักเพิ่มช่องทางรายได้ ทำให้เกษตรกรหันมาผลิตโคเนื้อเพื่อส่งตลาดพรีเมียมมากขึ้น
- ได้รับความอนุเคราะห์จากกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ในการให้คำแนะนำการตั้งสถานที่จำหน่ายเนื้อโค (butcher shop) และร้านสเต็ก Worasin farm Steak & Grill เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโคเนื้อและต่อยอดการตลาดผลิตภัณฑ์โคเนื้อในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และมีโอกาสได้รับการอบรมการแปลรูปผลิตภัณฑ์จากกรมปศุสัตว์
- คุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค จากการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้ออย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ สร้างผลงานด้านการเลี้ยงโค จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และบุคคลทั่วไป ดังต่อไปนี้
- เป็นฟาร์มโคเนื้อปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย
- เป็นฟาร์มโคเนื้อปลอดสารเร่งเนื้อแดง
- เป็นฟาร์มโคเนื้อที่ได้รับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ
- เป็นฟาร์มโคเนื้อที่ได้รับรองสถานกักกันสัตว์ที่มีความเหมาะสมสำหรับโค
- เป็นฟาร์มเครือข่ายด้านการเลี้ยงโคเนื้อ ของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอปราณบุรี
- เป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้กับผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการการเลี้ยงโคเนื้อ
- เป็นสถานที่สำหรับให้นักศึกษา คณะสัตวบาล และสัตวแพทย์ เข้าฝึกงานภาคสนาม
- เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายโคเนื้อพันธุ์ดี
- เป็นแหล่งแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อโคขุน เกรดพรีเมียม
- การใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ Internet Smart Phone https://www.facebook.com
- การใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคเนื้อโค เป็นช่องทางการสร้างรายได้ และการทำให้เป็นที่รู้จักสามารถมาศึกษาเรียนรู้ด้านการเลี้ยงการจัดการฟาร์ม สร้างเครือข่ายการผลิตโคเนื้อเกรดพรีเมียม
5. การตลาด
เทคนิคเฉพาะ
-โดยการทำตลาดโคเนื้อของทางฟาร์ม เกรดทั่วไปมีการจำหน่ายโคเนื้อมีชีวิตโดยเฉพาะโคปลอดสารเร่งเนื้อแดง เพื่อเข้าโรงฆ่าสัตว์ และเกรดพรีเมี่ยม จะขายเป็นราคาซากโค หรือทางการค้า จะเรียกว่าตลาดโคลายไขมันแทรกที่เหมาะกับการไปทำเนื้อสเต๊ก โดยเนื้อโคที่ได้มาจากการเลี้ยงโคอย่างประณีต ใช้เวลาขุน ตั้งแต่ ๘ เดือนเป็นต้นไป เพื่อให้ได้คุณภาพเนื้อที่เหมาะสม และการผลิตพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อ คือการที่เราได้โคเพศเมียมาจากการผสม ทางฟาร์มจะมีการปรับปรุงพันธุ์ พัฒนาสายเลือดให้สูงขึ้น เพื่อที่จะได้โคสายเลือดสูง มีโครงสร้างกล้ามเนื้อชัดเจนยิ่งขึ้น และมีความสวยงามต่างจากโคลูกผสมสายพันธุ์อื่น
6. เคล็ดลับหรือเทคนิคเฉพาะ
-การทำฟาร์มโคเนื้อ การเลี้ยง การผลิต และการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ ลูกโคเป็นผลผลิตหลักในการเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่โคควรสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกโคมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด จึงจะขายได้ราคาดี การที่จะทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของโคระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การเลี้ยงโคเนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่ การเลือกพันธุ์โคที่จะเลี้ยงให้ เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกโคที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาด
เคล็ดลับพิเศษ
การจัดการผสมพันธุ์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แม่โคผสมติดเพื่อให้ลูกโคได้ดีการผสมเทียมเป็นวิธีการผสมโดยฟาร์มไม่ต้องเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้เองและเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว การให้อาหารที่เหมาะสม จะต้องทราบความต้องการอาหารของโคในระยะต่างๆว่าต้องการโภชนะหรือ คุณค่าของอาหารในแต่ละวันเท่าใด และอาหารที่จะใช้เลี้ยงมีคุณค่าทางอาหารหรือโภชนะเท่าใดจึงจะสามารถคำนวณได้ว่าจะต้องให้อาหารจำนวนเท่าใดจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของโค ความต้องการอาหารส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดหรือน้ำหนักตัวของโค ผู้เลี้ยงโคที่ไม่มีตาชั่งประจำฟาร์มสามารถหาน้ำหนักโดยประมาณจากความยาวรอบอกโค เมื่อให้อาหารไประยะหนึ่งแล้วควรทำการตรวจสอบโดยดูความสมบูรณ์ของโคจาก คะแนนสภาพร่างกาย นอกจากการจัดการเลี้ยงดูและการให้อาหารที่ถูกต้องแล้ว การดูแลด้านสุขภาพโคก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยฟาร์มที่ดำเนินการเป็นธุรกิจอาจต้องทำการขุนโคและคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โคให้เหมาะสมกับสภาพ การผลิตและการตลาด ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการจัดการฟาร์มให้ได้ผลกำไรมากยิ่งขึ้น
เอกสารแนบท้าย
- แผนที่การเดินทางไปบ้านSmart Farmer ดีเด่น (จุดเริ่มต้นจากที่ว่าการอำเภอ)