เกษตรกรดีเด่น ปีงบประมาณ 2563

เกษตรกรดีเด่น ปีงบประมาณ 2563

ถอดบทเรียน Smart Farmer Model ดีเด่น

การนำเสนอถอดบทเรียน Smart Farmer ต้นแบบ
ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (smart farmer)
ประจำปีงบประมาณ 2563 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


แบบองค์ประกอบพื้นฐานของการนำเสนอบทเรียน Smart Farmer ต้นแบบ
1. ชื่อ Smart Farmer ต้นแบบ : นางดารัฐ โต๊ะวัง
2. Smart Farmer ต้นแบบ : สาขาการเลี้ยงแพะ
3. คำจำกัดความ : “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”

1



4. ประเด็นที่แสดงถึงความโดดเด่นและมีการปฏิบัติที่ดี
4.1 ความรู้เฉพาะสาขา : ความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงแพะ
นางดารัฐ โต๊ะวัง (นะห์) ผู้ประกอบการเลี้ยงแพะแห่ง “โต๊ะวังฟาร์ม” จบการศึกษาระดับ ใบประกาศวิชาชีพ (ปวช.) สาขาบัญชีจากวิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2540 เมื่อจบแล้วได้ เข้าทำงานแผนกบัญชี และเลขานุการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดร่อนทองชัย จำนวน 1 ปี ได้ลาออกจากงานเพื่อดูแลบุตร เมื่อปี 2541 และเริ่มนำแพะมาเลี้ยง เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ขณะนั้นมีพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์แพะประมาณ 10 ตัว ต่อมาเข้าทำงานเป็นครู โรงเรียนพัฒนศาสน์วิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2547 พร้อมกันนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จบการศึกษาเมื่อปี 2559
ถึงแม้ตนเองไม่ได้จบการศึกษาด้านการเลี้ยงสัตว์ แต่การดูแลแพะในฟาร์มส่วนใหญ่ดูแล เองทั้งหมดจะใช้แรงงานอื่นบ้างเป็นครั้งคราวเฉพาะกรณี เมื่อจำนวนแพะเพิ่มมากขึ้น จึงมีความคิดที่จะศึกษาหาความรู้อย่างละเอียด นอกเหนือจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่กระบวนการบริหารจัดการเลี้ยง การผลิตอาหารแพะปลอดภัย การตลาด การแปรรูปเนื้อแพะ ตลอดจนโรคต่างๆที่ต้องพึงระวังในการเลี้ยงแพะ เข้าร่วมการฝึกอบรมมากมายหลายหลักสูตร อาทิเช่น
- ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับการผสมอาหาร TMR และการใช้โปรแกรม KCF 2011 สำหรับคำนวณสูตรอาหารด้วยตนเอง ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ - ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของกุล่มเกษตรกร หัวข้อการบริหารองค์กรในรูปแบบสหกรณ์ การสร้างความเข็มแข็งกลุ่มเกษตรกร การพัฒนาระบบการผลิตสัตว์และอาหารสัตว์ของกลุ่มเกษตรกร การยกระดับการเลี้ยงสัตว์ให้เข้าสู่มาตรฐานความปลอดภัย

- การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านปศุสัตว์ ณ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
- ผ่านการฝึกอบการการสร้างมูลค่าเนื้อแพะ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เป็นต้น
จากประสบการณ์ที่เลี้ยงแพะมาตลอด 20 ปี ได้มีการเพิ่มเติมองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการศึกษาอบรมและดูงานจากสถานที่ต่างๆ จนในปัจจุบันสามารถดำเนินกิจการฟาร์มของตนเอง จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นต้นแบบในการดำเนินอาชีพด้านการเลี้ยงแพะ ให้กับเกษตรกรที่มีความสนใจในอาชีพ ทั้งรายเก่า-รายใหม่ ได้เป็นอย่างดี การันตีจากผลการดำเนินงานดังนี้


4.1.1 รับการอบรมหลักสูตรต่างๆ

2

3

4

 

 

5

 

 

 

6

 

7

 

 

 

4.1.2 มีทักษะการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อแพะ โดยได้รับเกียรติให้เข้าร่วมจัดเลี้ยงในงานต่างๆ
ร่วมจัดเลี้ยงเมนูแพะ งานเกษียณอายุราชการท่านนายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

8

 

นำเสนอเมนูบาบีคิวแพะ เข้าร่วมงานโครงการพัฒนาสายพันธุ์แพะเนื้อ และแพะนมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร

 9

10

 

นำเมนู บาบีคิวแพะ ร่วมงานแพะแห่งชาติครั้งที่ 15/2561 ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

 11

12

13

 

4.1.3 เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเสียสละต่อส่วนรวม และมีความเป็นผู้นำ จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านนิคมประจวบคีรีขันธ์” หมู่ที่ 10 ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงแพะ ให้ถูกต้อง และปลอดภัย เป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากส่วนราชการอื่นๆ ที่ให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตต่างๆ และปัจจุบันมีการพัฒนาเป็น แปลงใหญ่ผู้เลี้ยงแพะบ้านนิคมประจวบคีรีขันธ์

14

- กลุ่มวิสาหกิจได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการผลิตแพะพันธุ์ดี

15

16

 

- กลุ่มวิสาหกิจได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดกลุ่มเกษตรกร ประจำเขต 7

17

18

 

-กลุ่มวิสาหกิจได้รับรับรางวัลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดีเด่น

19

20

- กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สมาชิกได้เรียนรู้วิธีการฉีดยาสัตว์ และฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อยจากเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

21

22

 

ทั้งนี้ “โต๊ะวังฟาร์ม”ยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคณะศึกษาที่มีความสนใจการเลี้ยงแพะ ได้ศึกษาดูงานทั้งภายในและต่างจังหวัด ดังนี้
- ต้อนรับเจ้าหน้าที่ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤษฎากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

23


- ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากจังหวัดระนอง

24


- ให้การต้อนรับ หน่วยงาน กอรมน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

25

 

ให้การต้อนรับคณะดูงานจากจังหวัดสตูล

26

4.2 การจัดการปัจจัยการผลิต
ปัจจุบัน “โต๊ะวังฟาร์ม” มีจำนวนแพะทั้งหมด 144ตัว เป็นพ่อพันธุ์ 3 ตัว แม่พันธุ์ 87 ตัว แพะรุ่น 40 ตัว และแรกคลอด 14 ตัว ทางฟาร์มเน้นการจัดการที่ไม่เกินกำลัง ใช้แรงงานของตนเอง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และนำเทคโนโลยีทุ่นแรงมาช่วยในการให้อาหาร และการจัดการเรื่องสุขภาพแพะ

27


4.3 การผลิต/การเลี้ยง
4.3.1 พันธุ์สัตว์ เน้นการปรับปรุงพันธุ์โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ที่ให้ทั้งผลผลิตและทนต่อสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ระดับสายเลือด 70 % และดำเนินการคัดแพะตัวที่ด้อยโอกาสทางพันธุกรรมออกจากฝูง

28


4.3.2 อาคารโรงเรือน เน้นความโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี และไม่มีกลิ่นรบกวน รวมทั้งมีพื้นที่เพียงพอกับจำนวนแพะ ไม่ร้อนไม่แออัด แพะอยู่สบาย

 29

 

4.3.3 การจัดการฝูงแพะ แบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่ม ตามประเภทแพะ ขนาดอายุ เพราะง่ายต่อการให้อาหาร และการจัดการเรื่องสุขภาพแพะ คือ คอก พ่อพันธุ์ แม่พันธ์ คอกแพะเข้าใหม่ คอกแพะอนุบาล คอกแพะหย่านม และคอกแพะป่วย

 30

31


4.3.4 การให้อาหาร เน้นปลูกพืชอาหารสัตว์ไว้ใช้เลี้ยงแพะเอง เพื่อความต่อเนื่อง ลดต้นทุนในซื้อและการขนส่งอาหารหยาบ และเสริมด้วยอาหารข้น วัตถุดิบอื่นๆ กรณีที่ในพื้นที่มีไม่เพียงพอ
∎ อาหารหยาบ
- ใช้หญ้ากินนีม่วง หญ้าเนเปียร์ หญ้าหวาน ถั่วฮามาต้า และหญ้ารูซี่ (เลี้ยงแพะทุกรุ่น)

 32

∎ อาหารข้น
- แพะรุ่น ใช้อาหารสำเร็จรูปเปอร์เซ็นต์โปรตีน 20 % และปัจจุบันมีการทดลองทำอาหาร TMR โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เปอร์เซ็นต์โปรตีน 20%
- พ่อพันธุ์แม่พันธุ์แพะ เปอร์เซ็นต์โปรตีน 16 %
∎ มีการทำน้ำหมักชีวภาพ/อาหารหมักสำหรับเลี้ยงสัตว์ เสริมเพื่อการลดต้นทุนและสร้างเสริมความแข็งแรงแพะ


วิธีการทำน้ำหมักราด TMR
นมวัว 20 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร EM 1 ลิตร
หมัก 20 วัน ราด TMR ให้ได้ความชื้น 60% ใช้เลี้ยงแพะอายุหย่านม ช่วยเสริมแคลเซียม โตไว


วิธีการทำปลาหมักสำหรับแพะขุน
ปลาสด 50 ก.ก. มะกรูดผ่าครึ่ง 20 ลูก กระชายทุบ 1 กำมือ กากน้ำตาล 1 ลิตร EM 1 ลิตร รำละเอียด 1 ก.ก. ผสมกัน ใส่น้ำสะอาดให้ท่วมขึ้นมา 1 กำมือ
หมัก 21 วัน กรองน้ำใส่ขวด(สามารถเก็บไว้ไช้ได้ 1 ปี) วิธีการนำไปใช้ เอาน้ำปลาหมัก 1 ลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราด TMR สำหรับใช้เลี้ยงแพะขุน ช่วยเพิ่มโปรตีน ลดต้นทุนการผลิต

33

34

4.4 ด้านการตลาด
4.4.1 ผลผลิตด้านน้ำนมแพะพาสเจอร์ไรท์เป็นที่ต้องการของตลาดในชุมชนกลุ่มผู้สูงอายุแต่ผลผลิตมีจำนวนจำกัดและให้ผลผลิตช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นเนื่องจากมีจำนวนแพะสายพันธุ์นมไม่มาก

 35

36

4.4.2 แพะเพศผู้ (ขุน) มีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน ราคากิโลกรัมละประมาณ 130-150 บาท
4.4.3 แม่แพะปลดระวาง (ขุนให้อ้วน) ราคากิโลกรัมละประมาณ 90-100 บาท
4.4.4 ผลพลอยได้ สามารถจำหน่ายมูลแพะตากแห้งได้ในราคากระสอบละ 25 บาท หรือนำไปใส่ปุ๋ยแปลงหญ้า แปลงพืช ต้นไม้ ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์

 39

40

5. ข้อมูลทั่วไปของ Smart Farmer ต้นแบบ และการติดต่อ
นางดารัฐ โต๊ะวัง (นะห์) “โต๊ะวังฟาร์ม” ที่อยู่ บ้านเขาเสน เลขที่ 346 หมู่ที่ 10
ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77210
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ 081-9868588

6. ข้อมูลผู้ถอดบทเรียน
1. นายธีรศักดิ์ นาคใหญ่ ตำแหน่ง ปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เบอร์โทรศัพท์ 061-3874858
2. นายบรรเจิด อุ่นจิตต์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสัตวบาลปฏิบัติงาน เบอร์โทรศัพท์ 081-8580578
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
โทรศัพท์ / โทรสาร 032-604035 อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ถอดบทเรียน Young Smart Farmer Model ดีเด่น

การนำเสนอถอดบทเรียนการสร้างผู้นำเยาวชนเกษตรกรด้านปศุสัตว์(YSF)
ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (smart farmer)
ประจำปีงบประมาณ 2563 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แบบองค์ประกอบพื้นฐานของการนำเสนอบทเรียน Young Smart Farmer ต้นแบบ

1. ชื่อ Young Smart Farmer ต้นแบบ : นายวีรศักดิ์ จิตรชัยกาญจน์
2. Smart Farmer ต้นแบบ : สาขาการเลี้ยงสุกร
3. คำจำกัดความ : “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

 1

4.ประเด็นที่แสดงถึงความโดดเด่นและมีการปฏิบัติที่ดี
4.1 ความรู้เฉพาะสาขา : ความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงสุกร
นายวีรศักดิ์ จิตรชัยกาญจน์ (ตี๋) ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรวัยหนุ่มแห่ง “เจเคฟาร์ม” สำเร็จการศึกษาระดับใบประกาศวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี และระดับปริญญาตรี สาขาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับการคัดเลือกเกณฑ์ทหารได้รับการฝึก 1 ปี หลังจากปลดประจำการ จึงได้กลับมาดำเนินการจัดการฟาร์มต่อจากบิดา-มารดา เมื่อปี พ.ศ. 2558
ถึงแม้ว่าตนเองไม่ได้จบการศึกษาจากสาขาสัตวศาสตร์หรือด้านการเลี้ยงสัตว์ก็ตาม ตนเองได้ช่วยเหลืองานเลี้ยงสุกรด้านต่างๆภายในฟาร์ม จากบิดา-มารดา และพี่ชายมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยเรียน จึงทำให้ตนเองมีความชำนาญด้านการจัดการเลี้ยงสุกรได้เป็นอย่างดี มีความเหมาะสมที่จะเป็นต้นแบบ ให้กับผู้ที่มีความสนใจด้านการเลี้ยงสุกรได้ เพราะมีทักษะต่างๆมากมาย อาทิเช่น
4.1.1 มีทักษะการผสมเทียมการจัดการเลี้ยงและการดูแลสุขภาพสัตว์

- การรีดน้ำเชื้อจากพ่อสุกร

2

 

- การผสมเทียมแม่สุกร

 3


- การผสมอาหาร

4

 

– การให้อาหารสุกร

5

- ฉีดยา และให้วัคซีนป้องกันโรคสุกร

6

 

 

- การตอนลูกสุกรเพศผู้

 7

 

4.1.2 ผ่านการศึกษาดูงานฝึกอบรมเกษตรกรโครงการ Young Smart Farmer ปี 2563

8

 

9

 

4.2 การจัดการปัจจัยการผลิต
ปัจจุบัน “เจเคฟาร์ม” เป็นฟาร์มขนาดกลางมีโรงเรือนเพียงพอสำหรับการเลี้ยงสุกรในแต่ละกลุ่มโดยไม่แออัด ผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์มที่ดีที่สุดสำหรับปศุสัตว์ (GAP) และรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงในสุกร มีจำนวนพ่อพันธุ์ 6 ตัว แม่พันธุ์ 120 ตัว อนุบาล 200 ตัว และสุกรขุน 450 ตัว รวมสุกรทั้งหมด 776 ตัว มีรายได้จากการขายสุกรขุนที่ขายไปยังโรงฆ่าสัตว์ 400-600 ตัวต่อเดือน และขายลูกสุกรเพื่อนำไปเลี้ยงต่อ 30-70 ตัว ต่อเดือน โดยทางฟาร์มใช้แรงงานในครอบครัวเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดการเลี้ยงและดูแลสุกร

10

 

11

 

12

 

- จุดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม

13 

4.3 การผลิต/การเลี้ยง
4.3.1 พันธุ์สัตว์ เน้นการปรับปรุงพันธุ์โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ที่ให้ทั้งผลผลิต ตรงตามความต้องการของตลาด และทนต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
- พ่อพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ 100 %
- แม่พันธุ์ 2 สายเลือด คือพันธุ์ลาร์จไวท์ กับพันธุ์แลนด์เรซ
- สุกรขุน 3 สายเลือด คือพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ พันธุ์ลาร์จไวท์ และพันธุ์แลนด์เรซ

4.3.2 อาคารโรงเรือน เน้นความโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี รวมทั้งมีพื้นที่เพียงพอกับจำนวนสุกร ไม่ร้อนไม่แออัด โรงเรือนสุกรพ่อแม่พันธุ์ ยกพื้นสูง 1.20 เมตร และโรงเรือนสุกรอนุบาล ยกพื้นสูง 50 ซม.
4.3.3 การจัดการสุกรจัดแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม ตามประเภท ขนาด และอายุ เพราะง่ายต่อการให้อาหาร และการจัดการเรื่องสุขภาพ
- สุกรพ่อแม่พันธุ์
- สุกรอนุบาล
- สุกรขุน

4.3.4 การให้อาหาร ให้ตามช่วงอายุและน้ำหนัก โดยอาหารผสมด้วยตนเอง (ชนิดผง) และอาหารสำเร็จรูป (ชนิดเม็ด)
- สุกรพ่อแม่พันธุ์ โปรตีน 18 % (ชนิดผง)
- สุกรอนุบาล โปรตีน 20 % (ชนิดเม็ด)
- สุกรขุน ตามช่วงน้ำหนัก โปรตีน 14-18 % (ชนิดผง)
4.4 ด้านการตลาด
4.4.1 ผลิตลูกสุกร ให้มีสุขภาพแข็งแรง เลี้ยงง่ายโตไวตามความต้องการของตลาด จึงมีลูกค้าประจำที่แน่นอนทุกเดือน
4.4.2 ผลิตสุกรขุน ส่งโรงฆ่าสัตว์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดนครปฐม
4.4.3 สุกรพ่อแม่พันธุ์ที่คัดทิ้งส่งขายโรงงานแปรรูป ผลิตกุนเชียง แหนม หมูยอ เป็นต้น
4.4.4 ผลพลอยได้ สามารถจำหน่ายมูลสุกรตากแห้งได้ในราคากระสอบละ 30 บาท เพื่อเพิ่มรายได้ หรือนำไปใส่ปุ๋ยสวนปาล์ม หรือต้นไม้ ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์

- ตักมูลสุกรตากแห้งบรรจุกระสอบปุ๋ยเพื่อขายหรือทำปุ๋ย

14

 

15


4.5 อื่นๆ (ความภูมิใจในอาชีพการเลี้ยงสุกร)
อาชีพเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพ ที่สามารถทำรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างยั่งยืน จึงมีความภูมิใจที่จะสานต่ออาชีพดั้งเดิมของครอบครัวตลอดไป

5. ข้อมูลทั่วไปของ Young Smart Farmer ต้นแบบ และการติดต่อ
นายวีรศักดิ์ จิตรชัยกาญจน์ (ตี๋) “เจเค ฟาร์ม” ที่อยู่ บ้านนิคม กม.5 เลขที่ 200/6 หมู่ที่ 7
ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77210
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ 089-0339012


6. ข้อมูลผู้ถอดบทเรียน
1. นายธีรศักดิ์ นาคใหญ่ ตำแหน่ง ปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เบอร์โทรศัพท์ 061-3874858
2. นายบรรเจิด อุ่นจิตต์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานสัตวบาลปฏิบัติงาน เบอร์โทรศัพท์ 081-8580578
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 77000
โทรศัพท์ / โทรสาร 032-604035 อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.