ชื่อโครงการ |
ยกระดับการผลิตการแปรรูปและการตลาด สับปะระ มะพร้าว ประมง ปศุสัตว์และสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมหลัก | ส่งเสริมการพัฒนาฟาร์มโคนมอินทรีย์และพัฒนาระบบน้ำนมดิบ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมย่อย | ถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงโคนมตามระบบอินทรีย์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หน่วยงานรับผิดชอบ | สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.หลักการและเหตุผล |
(๑.๑) ที่มา ๑. วิสัยทัศน์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : มีพันธกิจที่จะผลักดันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีขีดความสามารถในการแข่งขันการผลิตการแปรรูปสับปะรด มะพร้าวและสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก โดยใช้กลยุทธ์พัฒนาระบบการผลิตการแปรรูป และการตลาดสับปะรด มะพร้าว ประมง ปศุสัตว์ และสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากลเพื่อการบริโภคและการส่งออก และกลยุทธ์เสริมสร้างและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ ๒. น้ำนมเป็นอาหารสำคัญแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยที่ดื่มเป็นอาหารหลักและเป็นอาหารเสริม ซึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นพื้นที่สำคัญที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และประชากรโคนมอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศไทย มีจำนวนฟาร์มโคนม ๙๒๓ ฟาร์ม ประชากรโคนม ๓๕,๐๐๐ ตัว เศษ ปริมาณน้ำนมดิบปีละ ๖๖,๐๘๐ ตัน มูลค่าผลผลิตปีละไม่ต่ำกว่า ๑,๒๐๐ ล้านบาท ผลผลิตน้ำนมดิบส่งไปแปรรูปในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นมภายในจังหวัด ซึ่งมีโรงงานขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) และโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนอีก ๒ แห่ง ผลผลิตที่เหลือส่งไปจำหน่ายเข้าโรงงานผลิตภัณฑ์นมของภาคเอกชน (๑.๒) สถานะปัจจุบันและสภาพปัญหาภาคการผลิตน้ำนมของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : จากจำนวนฟาร์มโคนมทั้งหมด ๙๒๓ ฟาร์ม มีฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เพียง ๑๙๘ ฟาร์ม (ประมาณ ๒๒%) จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัดการปรับปรุงฟาร์มและคุณภาพน้ำนมดิบให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเร็วตามประกาศของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk board) (๑.๓) แต่มีเกษตรกรผู้ประกอบการฟาร์มโคนมที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน GAP ที่มีความประสงค์จะสร้างผลิตภัณฑ์นมเพื่อสุขภาพให้มีคุณภาพสูงสุดระดับน้ำนมอินทรีย์ (Organic Milk) ซึ่งจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีประชาชนและนักท่องเที่ยวมาเที่ยวและพักผ่อนปีละไม่ต่ำว่า ๕ ล้านคน รายได้จากการภาคการท่องเที่ยวปีละไม่น้อยกว่า ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ดังนั้นอาหารคุณภาพสูงสุดระดับ Premium Grade ดังกล่าว ประกอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประทศ ๒๐ ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรระยะ ๒๐ ปี มีเป้าหมายให้สินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพและมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน นโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ เกษตรกรมั่นคงภาคการเกษตรมั่งคั่งและทรัพยากรการเกษตรยั่งยืนการผลิตผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ภายใต้ Brand name นมอินทรีย์(Organic Milk) ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงสามารถสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคทุกระดับได้ตามแนวนโยบาย ดังกล่าว |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒.วัตถุประสงค์ |
๒.๑ เพื่อพัฒนาระบบการผลิตน้ำนมดิบให้มีคุณภาพสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงโคนมเป็นฟาร์มโคนมอินทรีย์ผลิตน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ ๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีรายได้เพิ่มขึ้น มีมาตรฐานของอาชีพที่สูงขึ้นและยั่งยืน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓.กลุ่มเป้าหมาย |
๓.๑ เกษตรกรผู้ประกอบการฟาร์มโคนมที่เรียนรู้และพัฒนาฟาร์มเข้าสู่ระบบฟาร์มโคนมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ ฟาร์ม ๓.๒ ผู้มีส่วนได้เสีย (Steak holder) ที่จะดำเนินการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน ๒๐๐ คน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔.เป้าหมายในการดำเนินงาน/กิจกรรม | ๔.๑ เกษตรกรเจ้าของฟาร์มโคนมที่เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาฟาร์มโคนมเข้าสู่ระบบฟาร์มโคนมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ ฟาร์ม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔.๒ เกษตรกรเจ้าของฟาร์มโคนมที่เข้าศึกษาดูงาน ฟาร์มโคนมที่เข้าศึกษาดูงาน ฟาร์มโคนมอินทรีย์และผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ คน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔.๓ ผู้มีส่วนได้เสีย (Steak holder) ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาสร้าง Brand ผลิตภัณฑ์ภัณฑ์นมอินทรีย์ จำนวน ๒๐๐ คน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔.๔ จำนวนฟาร์มโคนมที่จะได้รับการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบน้ำนมตามมาตรฐานนมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ ฟาร์ม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔.๕ จำนวนฟาร์มโคนมที่จะได้รับการปรับปรุงพัฒนาฟาร์มในระบบฟาร์มโคนมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ ฟาร์ม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔.๖ มีWeb site เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้แก่กลุ่มผู้เลี้ยงโคนม/ผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ ผู้บริโภคนมและประชาชนทั่วไป ๑ Website | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||