8 มกราคม 2564 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนายยุษฐิระ บัณฑุกุล ปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบ ตามข้อเรียกร้องของชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมภาคใต้และภาคตะวันตก ซึ่งประกอบไปด้วย สหกรณ์โคนม ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้และตะวันตก จำกัด จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด , สหกรณ์โคนมชะอำ - ห้วยทราย จำกัด ,
สหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์คประจวบคีรีขันธ์ จำกัด , สหกรณ์โคนมกุยบุรี จำกัด , สหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์คบ้านเนินดินแดง จำกัด , สหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์คอ่าวน้อย จำกัด ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากน้ำนมดิบ จำนวน วันละ 40 ตันต่อวัน ไม่มีที่จำหน่ายเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดสถานศึกษากรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นพื้นที่จำหน่ายนมพาสเจอร์ไรส์ตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และเกิดผลกระทบต่อสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ที่ได้รับความเดือดร้อน ประมาณ 820 ครัวเรือน และได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับความช่วยเหลือ ดังนี้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์) มีข้อสั่งการเกี่ยวกับน้ำนมดิบส่วนต่าง จำนวน 40 ตันต่อวัน ที่มาจากการประกาศปิดสถานศึกษากรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ดังนี้
๑. อ.ส.ค.สามารถรับน้ำนมดิบของเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนไม่มีที่จำหน่ายจำนวน 40 ตันต่อวัน โดยให้สหกรณ์นำน้ำนมดิบส่งเข้าโรงงานนม อ.ส.ค. ดังต่อไปนี้
๑.1 โรงงานนม สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคกลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 20 ตันต่อวัน
1.2 โรงงานนม สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคใต้ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 20 ตันต่อวัน
2. น้ำนมดิบที่ส่งโรงงานนม สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคกลาง และ อ.ส.ค.ภาคใต้ อ.ส.ค. รับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมภายใต้เงื่อนไขของ อ.ส.ค ดังนี้
2.1 น้ำนมดิบ 1 ตัน ต่อผลิตภัณฑ์นม 5,000 กล่อง
2.2 รับผลิตตามราคา และระยะเวลาชำระเงินตามที่ อ.ส.ค.กำหนด เมื่อผลิตเสร็จแล้ว ให้สหกรณ์รับผลิตภัณฑ์นมชนิด UHT กลับไปภายใน 15 วัน
2.3 สหกรณ์ต้องรับผิดชอบค่าขนส่งนมดิบถึงหน้าโรงงานทั้ง 2 แห่ง และให้ราคานมดิบตามมาตรฐานการรับซื้อน้ำนมดิบที่กำหนด
2.4 น้ำนมดิบที่รับผลิตที่โรงงานนม อ.ส.ค.ภาคใต้ 20 ตันต่อวัน ใช้ผลิตเป็นนมโรงเรียน 10 ตันต่อวัน และนมพาณิชย์ 10 ตันต่อวัน ส่วนที่โรงงานนม อ.ส.ค.ภาคกลาง ใช้ผลิตเป็นนมโรงเรียนทั้งหมด 20 ตันต่อวัน โดยนมโรงเรียน ทางสหกรณ์ต้องรับกลับไปจำหน่ายในโควตา หรือสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียนของแต่ละสหกรณ์เอง ส่วนนมพาณิชย์ ต้องนำกลับไปจำหน่ายให้กับเกษตรกรสมาชิกเท่านั้น ห้ามไปขายส่งตามร้านค้า เพื่อไม่ให้กระทบกับเอเย่นต์ของตลาดนมพาณิชย์ และโมเดิร์นเทรด ของ อ.ส.ค.
3. อ.ส.ค. จะเริ่มรับน้ำนมดิบตามข้อเสนอเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ขอรับความช่วยเหลือจำนวน 40 ตันต่อวัน ระหว่างวันที่ 8-16 มกราคม 2564
4. ให้สหกรณ์จัดทำแผนการส่งมอบน้ำนมดิบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจำนวน 40 ตันต่อวัน ที่ส่งจำหน่ายหน้าโรงงาน สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคกลาง และ สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 8-16 มกราคม 2564 ส่งมอบให้ อ.ส.ค.เป็นการเร่งด่วนต่อไป
5. สำหรับน้ำนมดิบส่วนต่างของสหกรณ์โคนมชะอำ – ห้วยทราย จำกัด จำนวน 4.30 ตันต่อวัน ให้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีบริหารร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการอาหารเสริมนมเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้ได้ส่งนมแก่เด็กนักเรียนในพื้นที่ในช่วงหยุดเรียนเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
6. ขอให้ อปท. ผู้จัดซื้อนมโรงเรียนดำเนินการจัดซื้อนมเพื่อส่งมอบให้โรงเรียนถึงแม้เด็กจะหยุดเรียนอยู่ที่บ้าน
7. ขอให้กระทรวงศึกษาธิการแจ้งผู้บริหารสถานศึกษาตรวจรั บนมตามที่สายส่งนำมาส่ง และกระจายนมสู่เด็กนักเรียนให้เป็นไปตามรอบการจัดส่ง
8. ให้กรมปศุสัตว์ร่วมกับเกษตรผู้เลี้ยงโคนมพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบให้สูงขึ้น
ทั้งนี้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้นัดคณะทำงาน
ขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประชุมเพื่อร่วมกันแก้ไขร่วมกันตามแนวทางและข้อสั่งการในวันที่ 9 มกราคม 2564 ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยมีท่านชาตรี จันทร์วีระชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นประธานการประชุม
https://pvlo-pkk.dld.go.th/webnew/index.php/en/news-menu/livestock-news-menu/1540-2021-01-14-08-32-14#sigFreeId155c83f41b
ที่มาของข้อมูล : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์