ถอดบทเรียน Smart Farmer ต้นแบบ

 

ถอดบทเรียน Smart Farmer ต้นแบบ

ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (smart farmer)

ประจำปีงบประมาณ 2564 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

1

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โทร./โทรสาร 032-611366

 

แบบองค์ประกอบพื้นฐานของการนำเสนอบทเรียน Smart Farmer ต้นแบบ

1. ชื่อ Smart Farmer ต้นแบบ   :  นายสุขสันต์ เครือแตง     

2. Smart Farmer ต้นแบบ  :  สาขา การเลี้ยงแพะ

3. “คำจำกัดความ”

เกษตรกรผู้พัฒนาการเลี้ยงแพะ ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย

2

4. ประเด็นที่แสดงถึงความโดดเด่นและมีการปฏิบัติที่ดี

4.1) ความรู้เฉพาะสาขา 

เทคนิคเฉพาะ

          การเลี้ยงแพะ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพให้มั่นคง และยั่งยืน โดยการเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ แกะ อำเภอบางสะพานน้อย รวมทั้งได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ( ศพก. ) ประจำตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย ทำให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยี ด้านการเลี้ยงสัตว์ เป็นอย่างดี ได้มีการประสานงาน ในแผนการจัดการฟาร์ม การผลิต การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ที่มีคุณภาพ ตามความต้องการของตลาด และการแก้ไขปัญหา ในรูปแบบและวิธีการต่างๆ  จนประสพผลสำเร็จเป็นอย่างดี และสามารถถ่ายทอดสู่สมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ในกลุ่ม รวมทั้งเครือข่าย ได้ศึกษา แลกเปลี่ยน เรียนรู้ จนเกิดการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะ ให้ประสบความสำเร็จ ในปัจจุบัน

4

4.2) การจัดการปัจจัยการผลิต 

เทคนิคเฉพาะ

 ด้านพันธุ์สัตว์

     การคัดเลือกพันธุ์แพะ การพัฒนาพันธุ์ โดยการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อพ่อแพะพันธุ์ดี เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งสร้างพันธุ์แท้  และจำหน่ายพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ กระจายให้สมาชิกกลุ่ม  และเกษตรกรที่สนใจ  รวมทั้งการพัฒนาการจัดการฟาร์ม แพะเนื้อคุณภาพ ที่ตลาดมีความเชื่อมั่นในสินค้าปศุสัตว์  จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ( ศพก. ) ของกลุ่มฯ ณ ปัจจุบันการใช้มูลสัตว์ทำประโยชน์มูลแพะ นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก และตากแห้ง สำหรับใช้ในการเกษตรแปลงสวนยางพารา ใส่เป็นปุ๋ยพืชสวนผลไม้ และแบ่งจำหน่ายให้กับเกษตรกร ทั่วไป ในราคากระสอบละ 30  บาท / 30 กิโลกรัมสำหรับการคัดเลือกพันธุ์แพะ พ่อ แม่พันธุ์ นั้น ได้พิจารณาพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ฯ โดยใช้พันธุ์บอร์ ที่มีความทนทานต่อสภาพดิน ฟ้าอากาศ ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ เน้นการจัดการฟาร์มที่ดี เพื่อป้องกันเชื้อโรค จากการพัฒนายกระดับฟาร์มให้ระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM ) การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ( FMD )  ตามโปรแกรมที่กำหนด การตรวจคัดกรองโรคบรูเซลลา ในแพะ ประจำปี โดยได้รับการรับรองฟาร์ม GFM และฟาร์มปลอดโรคฯ ระดับ A  การจัดการด้านสุขภาพ ถ่ายพยาธิภายใน และภายนอก การจัดการฟาร์มเน้นการป้องกันโรคที่ดีด้วยระบบ (Biosecurity ) จุดเน้นที่สำคัญ  คือ โรงเรือนแพะ ต้องแห้ง สะอาด โดยแยกคอกเลี้ยงแม่พันธุ์ , แม่พันธุ์คลอดลูก , แพะรุ่น , แพะขุน คอกพักสัตว์ป่วย ไม่ให้มีเชื้อโรคสะสม แพะของฟาร์มมีสุขภาพดีทุกตัว

5

 

4.3) การผลิต/การเลี้ยง

เทคนิคเฉพาะ

- การจัดการด้านการเลี้ยง เลี้ยงแบบโรงเรือนให้อยู่เป็นสัดส่วนแยก ตามประเภทแพะ ขนาดอายุพ่อพันธุ์ , แม่พันธุ์ , แม่พันธุ์คลอดลูก , แพะรุ่น และแพะขุน เพราะง่ายต่อการให้อาหาร และง่ายต่อการจัดการเรื่องสุขภาพแพะ

- การดูแลสุขภาพ และการควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรคระบาดสัตว์ โรคพยาธิ ภายใน และภายนอก มีการจัดการฉีดวัคซินป้องกันโรคฯ ตามโปรแกรม ที่กำหนด ถ่ายพยาธิฯ และมีการตรวจ คัดกรองโรคแท้งติดต่อ ( บรูเซลล่า ) ใน แพะ แกะ เป็นประจำ ทุกปี รวมทั้งการแนะนำส่งเสริม ให้สมาชิกเกษตรในกลุ่ม ได้ให้ความสำคัญ และมีการปรับ และยกระดับฟาร์มให้มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม ( GFM ) เพื่อพัฒนาให้เป็นฟาร์มปลอดโรค และมาตรฐานฟาร์มแพะ โดยได้รับคำแนะนำ และติดตาม ตรวจสอบในการดำเนินงานจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอบางสะพานน้อย ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการดำเนินงาน

5

 

- การให้อาหาร เน้นปลูกพืชอาหารสัตว์ไว้ใช้เลี้ยงแพะเอง เพื่อความต่อเนื่อง ลดต้นทุนในการซื้อและการขนส่งอาหารหยาบ และมีการทดลองทำอาหาร ( TMR ) โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เปอร์เซ็นต์โปรตีน 20%เสริมด้วยอาหารข้น วัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ เช่น กระถิน หญ้าแห้ง แพงโกล่า เพื่อเป็นการลดต้นทุน อาหารข้น ที่มีราคาค่อนข้างสูงโดยผลิตอาหารเอง ( TMR ) เสริมด้วยอาหารข้น วัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ เช่น กระถิน หญ้าแห้ง แพงโกล่า เพื่อเป็นการลดต้นทุน อาหารข้น ที่มีราคาค่อนข้างสูง

- การทำอาหาร TMR สำหรับแพะ จะช่วยให้ขุนแพะโตได้เร็ว ลดต้นทุนและเวลา ไม่ต้องเสียเวลาต้องไปหาหรือตัดหญ้า กระถิน หรือวัตถุดิบต่างๆ มาให้กินทุกวัน สะดวกสบาย ทำให้เกษตรกรมีเวลาไปทำกิจการอย่างอื่น

- การนำไปใช้ นำอาหาร TMR ที่ผสมดีแล้ว ไปให้พ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 3 ก.ก./วัน ส่วนแพะขุนให้ในอัตรา 1.5 ก.ก./วัน อาจนำพ่อแม่พันธุ์ปล่อยให้แทะเล็มในแปลงหญ้าบ้างเพื่อเสริมอาหารหยาบและเป็นการออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรง

 

วิธีการทำTMR สำหรับแพะ

วัตถุดิบประกอบด้วย

 

รายการวัตถุดิบ(ก.ก) น้ำหนัก (สด)
หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 อายุ 45-60 วัน 80
กากถั่วเหลือง 44% 11
ข้าวโพดป่น 5
มันเส้น 4
แร่ธรตุรวม 0.001
รวม 100.001

 

วิธีการทำ

   1) นำหญ้าเนเปียร์ไปสับบดละเอียดด้วยเครื่องสับหญ้า 80 ก.ก.

   2) นำวัตถุดิบทั้งหมดรวมทั้งหญ้าเนเปียร์ที่บดสับละเอียดแล้ว ใส่ลงเครื่องผสมอาหาร TMR ที่ทำการเปิดเครื่องไว้แล้ว

   3) เครื่องที่การคลุกเคล้าประมาณ 5-7 นาที จึงนำออกมาใช้

หมายเหตุ : หากไม่มีเครื่องผสม TMR สามารถนำวัตถุดิบมาเทรวมกันเป็นกองๆ โดยเทแต่ละชนิดให้เป็นชั้นๆ แล้วจึงนำเครื่องมือคลุกเคล้า(พลั่ว) ผสมกลับวัตถุดิบไปมา จนเห็นว่าผสมกันอย่างดีจึงนำไปใช้

 

 6

 

4.4) การแปรรูป/การเพิ่มมูลค่า

เทคนิคเฉพาะ  

การเพิ่มมูลค่า  เน้นการพัฒนาสายพันธุ์แพะ โดยใช้พ่อพันธุ์บอร์ เลือด 100 เพื่อยกระดับสายพันธุ์ ให้เป็นที่นิยม และเป็นไปตามความต้องการของตลาดด้านคุณภาพแพะเนื้อ โดยวิธีการผสมเทียม และใช้พ่อพันธุ์ คุมฝูง เป็นต้น อีกทั้งเป็นพันธุ์ที่เลี้ยง ดูแลง่าย เจริญเติบโตได้ดี และปรับตัวกับสภาพพื้นที่ที่เลี้ยงได้อย่างเหมาะสม ได้ผลผลิตตามระยะเวลาที่ต้องการ

 

7

 

4.5) การตลาด

เทคนิคเฉพาะ

มีตลาดรับซื้อที่แน่นอน จำหน่ายสู่ตลาดภาคใต้ ที่มีความนิยมในคุณภาพ แพะขุน ในราคากิโลกรัมละ 150 บาท เฉลี่ยราคาตัวละ 5,000 บาท แพะเพศผู้ (ขุน) ใช้เวลาเลี้ยง 4 เดือน / น้ำหนัก ประมาณ 35 - สูงสุด 40 ก.ก อีกส่วนหนึ่งจำหน่ายเป็นพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ อายุประมาณ 8 - 10 เดือน ตัวละประมาณ 15,000 - 20,000 บาท โดยจำหน่ายให้กับสมาชิกในกลุ่มฯ และผู้สนใจ เพื่อยกระดับสายพันธุ์ให้ได้มาตรฐาน ต่อไป

 

8

 

4.6) อื่นๆ

เคล็ดลับหรือเทคนิคเฉพาะ

มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ด้านปศุสัตว์ เช่นมีความคิดริเริ่ม การแก้ไขปัญหาอุปสรรค การจัดการ การตลาด การสร้างผลประโยชน์และความสำเร็จ ความยั่งยืนในอาชีพด้านปศุสัตว์ การได้รับการคัดเลือกเป็น ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะ แกะ ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย เป็นศูนย์เครือข่าย ศพก.ด้านปศุสัตว์ และ Smart Model ระดับอำเภอบางสะพานน้อย มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน และได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ การฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ด้านเทคนิคต่างๆ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากกรมปศุสัตว์ อย่างต่อเนื่อง ทำให้การประกอบการเลี้ยงแพะ เป็นอาชีพหลักที่มั่นคง และยั่งยืน สร้างความภาคภูมิใจ ในอาชีพ และเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างให้สมาชิก ในการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ให้เจริญก้าวหน้า สร้างอาชีพ และสร้างรายที่มั่นคง

 

 

9

 

5. ข้อมูลทั่วไปของ Smart Farmer ต้นแบบและการติดต่อ

      ชื่อ นายสุขสันต์   นามสกุล เครือแตง   อายุ   44   ปี

      ที่อยู่ บ้านเลขที่ 269 หมู่ที่ 8 ตำบล ช้างแรก อำเภอ บางสะพานน้อย จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์

    รหัสไปรษณีย์ 77170   หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 089 - 9149864

 

6. ข้อมูลผู้ถอดบทเรียน

   ชื่อ นายสุมิตร อำนวยสินสิริ ตำแหน่ง สัตวแพทย์ชำนางาน รักษาราชการแทนปศุสัตว์อำเภอบางสะพานน้อย

     สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77170

     หมายเลขโทรศัพท์ 081-7632305 อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.