milk1
     
     

ชื่อโครงการ

     ยกระดับการผลิตการแปรรูปและการตลาด สับปะระ มะพร้าว ประมง ปศุสัตว์และสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐาน   
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมการพัฒนาฟาร์มโคนมอินทรีย์และพัฒนาระบบน้ำนมดิบ  
กิจกรรมย่อย ถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงโคนมตามระบบอินทรีย์  
หน่วยงานรับผิดชอบ  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  
๑.หลักการและเหตุผล

(๑.๑) ที่มา ๑. วิสัยทัศน์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : มีพันธกิจที่จะผลักดันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีขีดความสามารถในการแข่งขันการผลิตการแปรรูปสับปะรด มะพร้าวและสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก โดยใช้กลยุทธ์พัฒนาระบบการผลิตการแปรรูป และการตลาดสับปะรด มะพร้าว ประมง ปศุสัตว์ และสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากลเพื่อการบริโภคและการส่งออก และกลยุทธ์เสริมสร้างและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์

              ๒. น้ำนมเป็นอาหารสำคัญแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยที่ดื่มเป็นอาหารหลักและเป็นอาหารเสริม ซึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นพื้นที่สำคัญที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และประชากรโคนมอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศไทย มีจำนวนฟาร์มโคนม ๙๒๓ ฟาร์ม ประชากรโคนม ๓๕,๐๐๐ ตัว เศษ ปริมาณน้ำนมดิบปีละ ๖๖,๐๘๐ ตัน มูลค่าผลผลิตปีละไม่ต่ำกว่า ๑,๒๐๐ ล้านบาท ผลผลิตน้ำนมดิบส่งไปแปรรูปในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นมภายในจังหวัด ซึ่งมีโรงงานขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) และโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนอีก ๒ แห่ง ผลผลิตที่เหลือส่งไปจำหน่ายเข้าโรงงานผลิตภัณฑ์นมของภาคเอกชน

(๑.๒) สถานะปัจจุบันและสภาพปัญหาภาคการผลิตน้ำนมของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : จากจำนวนฟาร์มโคนมทั้งหมด ๙๒๓ ฟาร์ม มีฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เพียง ๑๙๘ ฟาร์ม (ประมาณ ๒๒%) จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัดการปรับปรุงฟาร์มและคุณภาพน้ำนมดิบให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเร็วตามประกาศของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk board)

(๑.๓) แต่มีเกษตรกรผู้ประกอบการฟาร์มโคนมที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน GAP ที่มีความประสงค์จะสร้างผลิตภัณฑ์นมเพื่อสุขภาพให้มีคุณภาพสูงสุดระดับน้ำนมอินทรีย์ (Organic Milk) ซึ่งจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีประชาชนและนักท่องเที่ยวมาเที่ยวและพักผ่อนปีละไม่ต่ำว่า ๕ ล้านคน รายได้จากการภาคการท่องเที่ยวปีละไม่น้อยกว่า ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ดังนั้นอาหารคุณภาพสูงสุดระดับ Premium Grade ดังกล่าว ประกอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประทศ ๒๐ ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรระยะ ๒๐ ปี มีเป้าหมายให้สินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพและมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน นโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ เกษตรกรมั่นคงภาคการเกษตรมั่งคั่งและทรัพยากรการเกษตรยั่งยืนการผลิตผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ภายใต้ Brand name นมอินทรีย์(Organic Milk) ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงสามารถสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคทุกระดับได้ตามแนวนโยบาย ดังกล่าว

 
๒.วัตถุประสงค์

๒.๑ เพื่อพัฒนาระบบการผลิตน้ำนมดิบให้มีคุณภาพสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงโคนมเป็นฟาร์มโคนมอินทรีย์ผลิตน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์

๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีรายได้เพิ่มขึ้น มีมาตรฐานของอาชีพที่สูงขึ้นและยั่งยืน
 
๓.กลุ่มเป้าหมาย

๓.๑ เกษตรกรผู้ประกอบการฟาร์มโคนมที่เรียนรู้และพัฒนาฟาร์มเข้าสู่ระบบฟาร์มโคนมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ ฟาร์ม

๓.๒ ผู้มีส่วนได้เสีย (Steak holder) ที่จะดำเนินการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน ๒๐๐ คน

 
๔.เป้าหมายในการดำเนินงาน/กิจกรรม ๔.๑ เกษตรกรเจ้าของฟาร์มโคนมที่เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาฟาร์มโคนมเข้าสู่ระบบฟาร์มโคนมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ ฟาร์ม  
 

 

89550   89559   89592
         
89552   270567   270574
         
89558   270580   270568
         
270577   270576   89554
         
270572   89553   89588
         
270568    89557    270579
         
270569    270570    270578
         

 

 

 
     
  ๔.๒ เกษตรกรเจ้าของฟาร์มโคนมที่เข้าศึกษาดูงาน ฟาร์มโคนมที่เข้าศึกษาดูงาน ฟาร์มโคนมอินทรีย์และผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ คน  
 

 

249780
         
9063   9090   23524
         
23527   23529   131087
         
 IMG 25610210 114239    249783    136212
         
136211   23532   23525
         

 

 

 
 

๔.๓ ผู้มีส่วนได้เสีย (Steak holder) ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาสร้าง Brand ผลิตภัณฑ์ภัณฑ์นมอินทรีย์ จำนวน ๒๐๐ คน

 
 

 

15052    15053   15054    15055 
             

 

 

 

 
  ๔.๔ จำนวนฟาร์มโคนมที่จะได้รับการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบน้ำนมตามมาตรฐานนมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ ฟาร์ม  
     
  ๔.๕ จำนวนฟาร์มโคนมที่จะได้รับการปรับปรุงพัฒนาฟาร์มในระบบฟาร์มโคนมอินทรีย์ จำนวน ๕๐ ฟาร์ม  
     
206031        
         
         
 
  ๔.๖ มีWeb site เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้แก่กลุ่มผู้เลี้ยงโคนม/ผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ ผู้บริโภคนมและประชาชนทั่วไป ๑ Website